AMH | Siam Fertility Clinic | กรุงเทพมหานคร
top of page

AMH

AMH-small-1024x724.jpg

AMH คืออะไร?

Anti-Mullerian Hormone หรือ AMH คือ ฮอร์โมนที่ผลิตจากรังไข่ บอกถึงประสิทธิภาพการทำงานของรังไข่ และในขณะเดียวกันค่าของ AMH  ก็สามารถใช้คาดการณ์จำนวนฟองไข่ที่ผลิตได้อีกด้วย

โดยทั่วไปค่าของ AMH จะค่อยๆ ลดระดับลง และหมดไปเมื่อผู้หญิงมีอายุที่มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ระดับของค่า AMH เป็นปัจจัยส่วนบุคคล   

กล่าวคือ ในกลุ่มของผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์บางราย พบว่ามี AMH ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ หรือมีภาวะของรังไข่เสื่อมก่อนวัย และในขณะเดียวกัน

ผู้หญิงในกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปบางราย ก็สามารถพบระดับ AMH ที่เทียบเท่ากับผู้หญิงในช่วงวัยก่อน 30 ปีได้

สำหรับผู้ที่กำลังวางแผนจะเข้ารับการรักษาภาวะมีบุตรยาก แพทย์จะแนะนำให้ฝ่ายหญิงมีการตรวจฮอร์โมน AMH ก่อนเริ่มการรักษา ทั้งนี้ เนื่องจากผลของ AMH มีประโยชน์ดังต่อไปนี้

  • ใช้วางแผนการรักษา : จำนวนของฟองไข่ ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่แพทย์ นำมาใช้ในการวางแผนของการรักษา เช่น การเลือกใช้ยากระตุ้นไข่  ขนาดยาที่ใช้ในการกระตุ้นไข่ และ protocol ในการรักษา

  • ใช้ในการประเมินโอกาสของการได้ตัวอ่อน : จำนวนฟองไข่ ถูกนำมาใช้คาดการณ์จำนวนตัวอ่อนที่คนไข้จะได้รับ ภายหลังจากกระบวนการปฏิสนธิ

  • ใช้ในการประเมินความเสี่ยงของภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป (Ovarian Hyper Stimulation Syndrome: OHSS) : ในกลุ่มคนไข้ฝ่ายหญิงที่พบว่ามีค่า AMH ในระดับสูง อาจมีจำนวนฟองไข่ค่อนข้างมาก โดยกระบวนการกระตุ้นการทำงานของรังไข่ อาจทำให้ของเหลวที่ไข่แต่ละใบผลิตได้ มีสะสมในร่างกาย และก่อให้เกิดภาวะบวมน้ำ หรือ OHSS ขึ้น ซึ่งหากแพทย์พบว่า คนไข้มีจำนวนฟองไข่มาก หรือมีค่า AMH ที่สูง ก็จะแนะนำวิธีการป้องกันภาวะบวมน้ำไว้ตั้งแต่เริ่มกระบวนการ การรักษา

 

ควรตรวจ AMH ในช่วงไหนของรอบเดือน?

การตรวจฮอร์โมน AMH จะเป็นการเจาะเลือด สามารถตรวจได้ตลอด โดยไม่ขึ้นกับรอบเดือน และไม่จำเป็นต้องงดน้ำ งดอาหาร

 

 

การอ่านค่าระดับ AMH

  • 4.0 ng/ml – 6.8 ng/ml          การทำงานของรังไข่ และจำนวนไข่ อยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก

  • 2.2 ng/ml – 4.0 ng/ml          การทำงานของรังไข่ และจำนวนไข่ อยู่ในเกณฑ์ปกติ

  • 0.3 ng/ml – 2.2 ng/ml          การทำงานของรังไข่เริ่มถดถอย และจำนวนไข่ค่อนข้างน้อย

  • 0.0 ng/ml – 0.3 ng/ml          การทำงานของรังไข่ถดถอย และจำนวนไข่น้อยมาก

  •  > 6.8 ng/ml                           มีจำนวนไข่มากผิดปกติ อาจมีภาวะ PCOS (Polycystic Ovary Syndrome) หรือ ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ

bottom of page