top of page
ค้นหา

ปัจจัยเสี่ยงและการรับมือกับปัญหามีบุตรยากในผู้หญิงและผู้ชาย

มีบุตรยาก

แนะนำ 5 แนวทาง เพื่อลดความเสี่ยงของปัญหามีบุตรยาก

มีบุตรยาก เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อคู่รักจำนวนมากทั่วโลก โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับหลากหลายด้านไม่ว่าจะเป็นปัจจัยด้านร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรมในการใช้ชีวิต ที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งในเพศหญิง และเพศชาย โดยในบทความนี้ เราจะพาทุกคนมาเจาะลึกถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก วิธีการป้องกัน และแนวทางการรักษาที่มีประสิทธิภาพ จะเป็นอย่างไร ไปดูกัน!


รวมปัจจัยเสี่ยงในเพศหญิง และเพศชาย ที่ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก


  • ปัจจัยเสี่ยงของภาวะมีบุตรยาก ในเพศหญิง

    โดยทั่วไปแล้ว เพศหญิง จะมีโอกาสในการเผชิญกับภาวะมีบุตรยากมากขึ้นเมื่อมีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ดังนี้

    • อายุที่เพิ่มขึ้น : เมื่อมีอายุเกิน 35 ปีขึ้นไป จะส่งผลให้คุณภาพของไข่ลดลง ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อโอกาสในการตั้งครรภ์ และการเกิดภาวะมีบุตรยาก 

    • ความผิดปกติของการตกไข่ : หนึ่งในโรคที่พบบ่อยในเพศหญิงก็คือ ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) และภาวะรังไข่เสื่อมก่อนวัย ซึ่งทำให้กระบวนการตกไข่ไม่ปกติ

    • โรคเกี่ยวกับมดลูก และท่อนำไข่ : เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) หรือการอุดตันของท่อนำไข่ ซึ่งขัดขวางกระบวนการตั้งครรภ์

    • ความผิดปกติของฮอร์โมน : ฮอร์โมนที่ไม่สมดุล จะมีผลต่อการตกไข่เช่นกัน

    • โรคประจำตัวต่าง ๆ : เช่น โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ หรือความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ที่อาจกระทบต่อระบบสืบพันธุ์


  • ปัจจัยเสี่ยงของภาวะมีบุตรยาก ในเพศชาย

    สำหรับในเพศชาย แม้ดูเหมือนจะมีส่วนร่วมในกระบวนการตั้งครรภ์ที่น้อยกว่า แต่ปัญหาทางสุขภาพของผู้ชายก็มีผลไม่น้อยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น

    • คุณภาพของอสุจิที่ลดลง : เช่น จำนวนอสุจิน้อย รูปร่างผิดปกติ หรือการเคลื่อนไหวที่ไม่ดี

    • ภาวะฮอร์โมนผิดปกติ : ฮอร์โมนเพศชายที่ไม่สมดุล สามารถลดการผลิตอสุจิ ซึ่งส่งผลกระทบต่อกระบวนการเจริญพันธุ์ได้

    • โรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ : เช่น เส้นเลือดขอดในถุงอัณฑะ (Varicocele) หรือการติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์

    • พฤติกรรมเสี่ยง : การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ หรือการใช้สารเสพติด ล้วนส่งผลกระทบต่อคุณภาพของอสุจิทั้งสิ้น

    • ความเครียดและภาวะซึมเศร้า : ที่ส่งผลต่อฮอร์โมน และการทำงานของระบบสืบพันธุ์


5 แนวทางการรับมือ และป้องกัน เพื่อลดความเสี่ยงของปัญหา มีบุตรยาก


  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิต

    พฤติกรรมในการใช้ชีวิตในปัจจุบันนั้น ส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพระบบสืบพันธุ์ทั้งในผู้หญิง และผู้ชาย ดังนั้น การปรับเปลี่ยนเล็ก ๆ น้อย ๆ ในชีวิตประจำวัน จึงสามารถลดความเสี่ยงของภาวะมีบุตรยากได้เป็นอย่างมาก เช่น การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญ การออกกำลังอย่างสม่ำเสมอเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต และปรับสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย รวมถึงการลดความเครียด และการพักผ่อนอย่างเพียง เพื่อให้ร่างกายฟื้นฟูและปรับสมดุลฮอร์โมน ซึ่งส่งผลดีต่อระบบสืบพันธุ์ เป็นต้น


  • การตรวจสุขภาพประจำปี

    การตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยปัญหาที่อาจส่งผลต่อการตั้งครรภ์ได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ซึ่งการตรวจสุขภาพระบบสืบพันธุ์นั้น ควรทำทั้งผู้หญิง และผู้ชาย เพื่อประเมินความพร้อมของร่างกายในการมีบุตร และแก้ไขภาวะมีบุตรยากได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น

    • การตรวจระดับฮอร์โมน : เพราะฮอร์โมนเพศที่สมดุล มีบทบาทสำคัญต่อโอกาสในการตั้งครรภ์ ดังนั้น การตรวจระดับฮอร์โมน เช่น ฮอร์โมนเอสโตรเจน โปรเจสเตอโรน และเทสโทสเตอโรน จะสามารถตรวจสอบความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้

    • การตรวจคุณภาพของอสุจิ : สำหรับผู้ชาย ควรเข้ารับการตรวจจำนวน ความเข้มข้น และการเคลื่อนไหวของอสุจิ เพื่อประเมินศักยภาพในการมีบุตรต่อไป

    • การตรวจภายในและอัลตราซาวด์มดลูก : สำหรับผู้หญิง การตรวจภายใน และการอัลตราซาวด์ จะช่วยให้แพทย์สามารถตรวจหาความผิดปกติเกี่ยวกับระบบเจริญพันธุ์ได้


  • การพบแพทย์เฉพาะทาง

    ถ้าหากคู่ของคุณมีความพยายามตั้งครรภ์มานานกว่า 1 ปี (หรือ 6 เดือนในกรณีที่อายุมากกว่า 35 ปี) แต่ก็ยังไม่สำเร็จ การเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์เฉพาะทางที่คลินิกรักษามีบุตรยากเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อที่จะได้รับคำแนะนำ และแนวทางการเลือกวิธีในการรักษาที่เหมาะสม และคาดหวังผลลัพธ์ได้ดีที่สุด เช่น การรักษาด้วยการใช้ยากระตุ้นการตกไข่ หรือการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) หรือ ICSI เป็นต้น

  • การรักษาสุขภาพจิตใจ

    สุขภาพจิต เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อโอกาสในการตั้งครรภ์ เพราะความเครียด และความกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ อาจส่งผลให้ฮอร์โมนผิดปกติ และลดโอกาสในการตั้งครรภ์ได้ ดังนั้น การดูแลสุขภาพจิตจึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งควรเข้ารับการปรึกษาจากนักจิตวิทยา หรือที่ปรึกษาส่วนตัว เพื่อช่วยลดความกังวล และสร้างทัศนคติในเชิงบวก เพื่อให้รู้สึกมีกำลังใจมากขึ้นได้


  • การเลือกใช้เทคโนโลยีเจริญพันธุ์

    เทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ เป็นทางเลือกสำคัญสำหรับคู่รักที่ประสบปัญหาภาวะมีบุตรยากมานาน และตั้งครรภ์ไม่สำเร็จด้วยวิธีธรรมชาติต่าง ๆ โดยมีวิธีการรักษาหลายรูปแบบ เช่น การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) การฉีดอสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก (IUI) การฝากไข่ หรือการฉีดอสุจิเข้าสู่เซลล์ไข่ (ICSI) เป็นต้น ซึ่งวิธีการเหล่านี้ ควรเข้ารับการปรึกษาแพทย์ และได้รับการดูแลอย่างเข้มงวด เพื่อเลือกวิธีรักษาที่เหมาะสมกับเรามากที่สุด


การรักษา มีบุตรยาก อาจจะไม่ง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ Siam Fertility Clinic พร้อมเป็นกำลังใจ และช่วยเหลือคุณในทุกขั้นตอนของการรักษา

มีบุตรยาก เกิดได้ทั้งในชายและหญิง การเข้าใจปัจจัยเสี่ยงและแนวทางรักษาที่เหมาะสมจะช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์อย่างมีประสิทธิภาพ


Siam Fertility Clinic พร้อมเป็นที่ปรึกษาและช่วยเหลือคุณด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง พร้อมเทคโนโลยีทันสมัยล่าสุด ให้บริการครบวงจร ทั้งตรวจคุณภาพอสุจิ ตรวจภายใน ทำเด็กหลอดแก้ว และรักษาโรคที่เกี่ยวข้อง โดยมีทีมงานคอยดูแลใกล้ชิดตลอดการรักษา เพราะเราเข้าใจความสำคัญของการสร้างครอบครัวที่สมบูรณ์แบบของคุณ



หากคุณกำลังวางแผนมีบุตรหรือ มีบุตรยาก และต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับการทำ IUIIVF, ICSI นัดปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อประเมินทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับคุณ



 
 
 

Comments


สำหรับคำถามใดๆ

จะติดต่อกลับโดยเร็วที่สุด 

สยาม เฟอร์ทิลิตี้ คลินิก 

เปิดทุกวัน : 07.30 - 16.30 น.

ติดต่อ

โทร : 02 116 5905 #101
Line ID : @siamfertility

WeChat : siamfc

อีเมล์ : info@siamfertility.com

ที่อยู่ : 361/3 ถนน ศรีอยุธยา แขวง ทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย 10400

  • LINE_logo.svg
  • Facebook
  • YouTube
  • Instagram
Footer  iso anab gen qa.png
bottom of page