ICSI
ICSI คืออะไร
ICSI หรือ อิ๊กซี่นั้นมาจากคำว่า Intracytoplasmic Sperm Injection ซึ่งมีความหมายว่าการฉีดอสุจิเข้าเซลล์ไข่ เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาผู้บุตรยากในปัจจุบัน
วิธีการและขั้นตอนการทำ ICSI
-
เข้ามาปรึกษาแพทย์ เพื่อแนะแนวทางและแจ้งกระบวนการรักษา
-
ตรวจร่างกายทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง เพื่อหาสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก
เช่น การตรวจเลือดเพื่อวัดระดับฮอร์โมน AMH (Anti Müllerian Hormone) ที่จะสามารถบ่งบอกการทำงานของรังไข่และจำนวนไข่ที่มีเบื้องต้นได้
การตรวจคุณภาพน้ำเชื้อ (Semen Analysis) เป็นการตรวจดูการเคลื่อนไหว รูปร่าง จำนวน และคุณภาพของอสุจิ
3. กระตุ้นการตกไข่ โดยจะใช้ยากระตุ้นให้เกิดการตกไข่
4. เก็บไข่และเก็บสเปิร์มเพื่อเตรียมทำไปปิฏิสนธิด้วยการทำ ICSI
5.เพาะเลี้ยงตัวอ่อนไปจนถึงระยะบลาสโตซิสต์ (Blastocyst)
6. ตรวจคัดครองความผิดปกติของโครโมโซม (PGT-A)
7. การเตรียมผนังมดลูกเพื่อให้พร้อมต่อการย้ายตัวอ่อน
8. ย้ายตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูก (Embryo Transfer)
ทำไมการฉีดอสุจิเข้าเซลล์ไข่หรือการทำอิ๊กซี่เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคู่รักที่มีปัญหามีบุตรยาก
ข้อดีและข้อเสียของการทำ ICSI
ข้อดี
-
มีโอกาสตั้งครรภ์สูงกว่าการตั้งครรภ์โดยธรรมชาติ
-
สามารถคัดกรองความผิดปกติของทารกเบื้องต้นได้ เช่น การคัดกรองภาวะดาวน์ซินโดรมหรือโรคทางพันธุกรรมอื่นๆ
ข้อเสีย
-
อาจเกิดภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป (Ovarian hyperstimulation syndrome)
-
มีโอกาสในการตั้งครรภ์แฝดและอาจส่งผลต่อการเกิดภาวะกรรภ์เป็นพิษ
ICSI กับ IVF เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
IVF (In Vitro Fertillization) เป็นการปฏิสนธิภายในห้องปฏิบัติการเช่นเดียวกับการทำ ICSI แต่ความแตกต่างคือ IVF จะทำการปฏิสนธิโดยให้อสุจิว่ายเข้ามาผสมกับไข่ด้วยตัวเอง ต่างจาก ICSI ที่เป็นการฉีดเชื้ออสุจิเข้าไปในเซลล์ไข่โดยตรง จึงจะทำให้อัตราการตั้งครรภ์สูงกว่าการทำ IVF
การทำ ICSI เหมาะกับใคร ?
-
ผู้ที่มีอายุมากว่า 35 ปีขึ้นไป
-
ล้มเหลวในการพยายามมีบุตรด้วยวิธีการธรรมชาติ
-
ผู้ที่มีประวัติการแท้งซ้ำซ้อน
-
ผู้ที่มีความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ เช่น อสุจิไม่แข็งแรง ท่อนำไข่ตัน ทำหมันหรือเป็นหมัน