ERA TEST | My Site 1
top of page

ERA Test

ถึงแม้ว่าตัวอ่อนที่มีคุณภาพดี จะเป็นหัวใจสำคัญของอัตราความสำเร็จในการตั้งครรภ์ แต่ปัจจัยที่สำคัญต่อการย้ายตัวอ่อน ก็คือความพร้อมของมดลูกที่จะรองรับการฝังตัวของตัวอ่อน

การกำหนดเวลาของการย้ายตัวอ่อนจะต้องสัมพันธ์กับรอบประจำเดือน ไม่เร็ว หรือช้าจนเกินไป  เพื่อให้เกิดการฝังตัวของตัวอ่อนในช่วงเวลาที่ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีช่วงเวลาสำหรับการย้ายตัวอ่อนที่คล้ายกัน แต่ทว่ายังมีกลุ่มผู้หญิงอีกประมาณ 30% ที่ช่วงเวลาของการเปิดรับตัวอ่อนมีความคลาดเคลื่อนไปจากที่ควรจะเป็น

 

อะไรคือ เยื่อบุโพรงมดลูก ?

ภายในมดลูก จะมีเนื้อเยื่อที่วางตัวเป็นแนวอยู่ เรียกว่า เยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrium)  ซึ่งในแต่ละเดือนก็จะถูกเตรียมพร้อมไว้สำหรับรองรับตัวอ่อน หากสภาวะของเยื่อบุโพรงมดลูก  ไม่มีความพร้อม แม้ตัวอ่อนจะมีคุณภาพดีมากเท่าไร ก็อาจทำให้ไม่มีการฝังตัวเกิดขึ้น

 

 

 

 

ตัวรับของเยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrial Receptivity) คืออะไร ?

เมื่อเยื่อบุโพรงมดลูกมีความพร้อมต่อการฝังตัวของตัวอ่อน จะมีกลไกที่ทำหน้าที่เหมือนตัวรับ (Receptivity) และจะมีช่วงเวลาของการเปิดรับ เรียกว่า หน้าต่างของการเปิดรับตัวอ่อน (Window of implantation) เกิดขึ้น











 

ผู้หญิงแต่ละคน จะมีช่วงเวลาของ window of implantation แตกต่างกันไป บางคนอาจเกิดขึ้นเร็ว หรือช้ากว่าปกติ  ซึ่งหากเราสามารถทราบช่วงเวลาหน้าต่างของการเปิดรับตัวอ่อนได้แม่นยำ และเป็นเฉพาะบุคคลมากยิ่งขึ้น ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้กับบุคคลนั้นๆ

ERA ใช้หลักการของเยื่อบุโพรงมดลูก (endometrium) จะแสดงการเปิดรับตัวอ่อนภายหลังจากได้รับ Progesterone เป็นเวลา 5 วัน  ซึ่งถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ตัวอ่อนมีความพร้อมที่จะฝังตัว  โดยการวิเคราะห์จะใช้วิธีการตัด (Biopsy) เนื้อเยื่อของโพรงมดลูก มาวิเคราะห์การแสดงออกของยีน (Gene Expression) เพื่อหาช่วงเวลาที่แม่นยำสำหรับการย้ายตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูก เพิ่มโอกาสในการฝังตัวของตัวอ่อน อันจะนำไปสู่การตั้งครรภ์ในที่สุด

เงื่อนไขของตัวอ่อน ที่เหมาะกับกระบวนการ ERA

เนื่องจากผลของการทำ ERA TEST จะถูกนำมาใช้คำนวณช่วงเวลาที่เหมาะสมเฉพาะในส่วนของโพรงมดลูกเท่านั้น มิได้เกี่ยวข้องกับตัวอ่อน ดังนั้น ตัวอ่อนที่จะนำมาใช้ย้ายเข้าสู่โพรงมดลูก ควรมีลักษณะที่เอื้ออำนวยต่อโอกาสในการตั้งครรภ์ ดังนี้

1) ตัวอ่อนที่ใช้สำหรับการย้ายตัวอ่อน ควรเป็นตัวอ่อนที่เติบโตเต็มที่ในระยะวันที่ 5 หรือ ระยะวันที่ 6 หรือ ระยะบลาสโตซิสต์ (Blastocyst Stage) ทั้งนี้เนื่องจาก Blastocyst  จะมีการพัฒนาเข้าสู่ระยะที่จะฝังตัวในโพรงมดลูกต่อไปนั่นเอง

2) ตัวอ่อนที่ใช้สำหรับการย้ายตัวอ่อน  ควรเป็นตัวอ่อนที่มีผลตรวจโครโมโซมที่เป็นปกติ เพื่อให้มีโอกาสในการฝังตัว และสามารถตั้งครรภ์ไปได้ตลอด (ตัวอ่อนที่มีความผิดปกติของโครโมโซม มักไม่พบการฝังตัว หรือ อาจะทำให้เกิดการแท้งได้ในภายหลัง)

ดังนั้น เมื่อทั้งโพรงมดลูก และตัวอ่อนมีความพร้อม  ก็จะมีโอกาสของที่ตัวอ่อนจะฝังตัว และเกิดเป็นการตั้งครรภ์ในที่สุด ในทางกลับกัน ถ้าทั้งโพรงมดลูกไม่พร้อม และตัวอ่อนเติบโตได้ไม่ดี หรือมีความผิดปกติของโครโมโซม การฝังตัวของตัวอ่อน และการตั้งครรภ์ก็เกิดขึ้นได้ยาก

 

ขั้นตอนของการทำ ERA

แบ่งออกเป็น 2 ส่วน

  • ขั้นตอนการตัดชิ้นส่วนตัวอย่างของผนังมดลูก (เรียกว่า Biopsy)

การตัดชิ้นส่วนตัวอย่าง (Biopsy) จะเกิดขึ้น ณ เวลาที่แพทย์กำหนดไว้ให้เป็นเวลาของการย้ายตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูก ซึ่งหมายถึง คนไข้จะผ่านกระบวนการที่เหมือนกับการย้ายตัวอ่อนทุกประการ เพียงแต่จะไม่มีการย้ายตัวอ่อนจริงๆเกิดขึ้น  ทั้งนี้เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการทดสอบการแสดงออกของยีนที่ผนังมดลูกก่อนที่จะทำการย้ายตัวอ่อน

ในรอบของการทำ ERA (Prep cycle) จะทำทุกอย่างเหมือนรอบที่จะย้ายตัวอ่อนจริงๆ (Real Cycle) นั่นคือ มีการให้ยาเตรียมผนังมดลูก และในระหว่างนั้น จะมีการนัดตรวจภายในเพื่อดูความหนาของผนังมดลูก และการตรวจเลือดเพื่อวัดระดับของฮอร์โมน  ซึ่งเมื่อผนังของมดลูกพร้อมที่จะทำการย้ายตัวอ่อน จะมีการนัดทำ Biopsy ชิ้นส่วนของผนังมดลูก ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เวลาประมาณ 3 นาที โดยคนไข้อาจรู้สึกไม่สบายตัว หรือมีอาการเจ็บปวดบ้าง แต่ไม่รุนแรงถึงกับต้องให้ยาสลบ/ยาชา

กระบวนการ Biopsy จะใช้การวางท่อพลาสติกเล็กๆ ที่มีลักษณะยืดหยุ่นเข้าไปในโพรงมดลูก (มีการใส่เครื่องมือ speculum ช่วยเปิดทางเข้าของช่องคลอด) เพื่อเก็บชิ้นเนื้อ โดยจะทำการสอดท่อพลาสติกดังกล่าว เข้า-ออกซ้ำๆ ในโพรงมดลูกจนกว่าปริมาณชิ้นเนื้อจะเพียงพอต่อการนำไปตรวจสอบ

  • ขั้นตอนการทดสอบตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์การแสดงของยีน (gene expression)

หลังได้รับตัวอย่างชิ้นเนื้อแล้ว ก็จะทำการส่งตรวจกับหน่วยวิเคราะห์ผล  โดยใช้เทคโนโลยี Next Generation Sequencing (NGS) เพื่อวิเคราะห์การแสดงออกของยีน (Gene Expression) จำนวน 248 ยีนที่เกี่ยวข้องกับตัวรับของเยื่อบุโพรงมดลูก

โดยการรายงานผลจะเป็นการให้คำแนะนำช่วงเวลาการย้ายตัวอ่อนเฉพาะบุคคล และแพทย์จะใช้ผลการวิเคราะห์เพื่อคำนวณเวลาการย้ายตัวอ่อน (โดยปรับตามการเริ่มใช้กลุ่มยา Progesterone ) ในรอบจริง

ข้อดีของการทำ ERA

  • สามารถทราบช่วงเวลาหน้าต่างของการเปิดรับตัวอ่อนที่เป็นเฉพาะรายบุคคล เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

  • ลดความเสี่ยงของภาวะตัวอ่อนไม่ฝังตัวซ้ำซ้อน (Recurrent Implantation Failure :RIF)   

  • ลดความเสี่ยงที่จะสูญเสียตัวอ่อนที่มีคุณภาพดีไปกับการย้ายตัวอ่อนหลายๆรอบ

ที่มา : https://www.igenomix.co.uk/our-services/era/

1651637421816.jpg
1651637469719.jpg
1651637778116.jpg
bottom of page